วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

การบ้านครูจุ๋ม

ตรวจสอบการบ้าน คลิกที่นี่

การพัฒนาตนเองเข้าสู่งานอาชีพ

การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ

          อาชีพ หมายถึง  การเลี้ยงชีวิต การทำมาหากิน งานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงอาชีพ ซึ่งในปัจจุบันมีอาชีพมากมาย เช่น การทำนา การทำสวนการทำไร่ นักแสดง นักธุรกิจ
          การพัฒนาตนเอง  หมายถึง การที่บุคคลกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในชีวิตของตนเองไว้ล่วงหน้า และหาวิธีพัฒนาการดำเนินชีวิตให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
          การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ หมายถึง การพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้คนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองอย่างมีความสุข
ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ
1. ความสำคัญต่อตนเอง
           1.1 เตรียมตนเองให้พร้อมทุกด้าน
           1.2 ปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม ขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออก  พร้อมเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
           1.3 วางแนวทางให้พัฒนาไปสู่เป้าหมายด้วยความมั่นใจ
2. ความสำคัยต่อบุคคลอื่น
           2.1 การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อผู้ที่ติดต่อด้วย
           2.2 เป็นตัวอย่างอ้างอิงให้เกิดการพัฒนาแก่บุคคลอื่น
3. ความสำคัญต่อสังคม
           3.1 แข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น
           3.2 ขจัดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อันทำให้เกิดความก้าวหน้าทั้งต่อตนเองและสังคม
คุณสมบัติของบุคคลในการพัฒนาตนเอง
1. มีความกระตือรือร้น
2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
3. ต้องพัฒนาทางร่างกาย 
4. เห็นส่วนดีของบุคคลอื่นมากกว่าข้อบกพร่อง
5. ต้องพัฒนาทางสังคม
6.ต้องพัมนาทางเชาวน์ปัญญา
วิธีการพัฒนาตนเอง
1. การฝึกตนเอง  หมายถึง  การฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีอนามัยดี รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและพักผ่อน ฝึกให้เป็นคนรู้จักอดทน  เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  ฝึกให้เป็นคนอารมณ์ขันบ้าง รู้จักชื่นชมผู้อื่นมากกว่าที่จะชื่นชมตนเอง
2. ฝึกสำรวจตนเอง

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

คุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน

          คุณธรรม  หมายถึง  สภาพคุณงานมความดีและความถูกต้องในการแสดงออกทั้งกาย  วาจา  และใจของแต่ละบุคคลซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย
          จริยธรร  หมายถึง  กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม  เหมาะสม  และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับจากสังคม  เพื่อความสันติสุขแห่งตนเองและความสงบเรียบร้อยของสังคม
          ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
  1. ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ
  2. ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
  3. ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ
  4. ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนมากขึ้น
  5. ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่มีคุณค่า
  6. ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจิญไปพร้อม ๆ กัน
           คุณธรรมในการทำงาน
           คุณธรรมในการทำงาน  หมายถึง  ลักษณะนิสัยที่ดีที่ควรประพฤติปฏิบัติในการประกอบอาชีพคุณธรรมสำคัญที่ช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จมีดังนี้
  1. ความมีสติสัมปชัญญะ  หมายถึง  การควบคุมตนเองให้พร้อม  มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส  การใช้ปัญญาและเหตุผลในการตัดสินใจที่จะประพฤติปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ  เหมาะสม และถูกต้อง
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต  หมายถึง  การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย  วาจา  และใจ  ไม่คิดคดทรยศ  ไม่คดโกง  และไม่หลอกลวงใคร
  3. ความขยันหมั่นเพียร  หมายถึง  ความพยายามในการทำงานหรือหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน ด้วยความมุ่งมั่นเอาใจใส่อย่างจริงจังพยายามทำเรื่อยไปจนกว่างานจะสำเร็จ
  4. ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง  แบบแผนที่วางไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินการให้ถูกลำดับ  ถูกที่  มีความเรียบร้อย  ถูกต้องเหมาะสมกับจรรยาบรรณ  ข้อบังคับ  ข้อตกลง  กฎหมาย  และศีลธรรม
  5. ความรับผิดชอบ  หมายถึง  ความเอาใจใส่มุ่งมั่นตั้งใจต่องาน  หน้าที่  ด้วยความผูกพัน  ความพากเพียร  เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  6. ความมีน้ำใจ  คือ  ปรารถนาดีมีไมตรืจิตต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบความสุข  และชาวยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
  7. ความประหยัด  หมายถึง  การรู้จักใช้ รู้จักออม  รู้จักประหยัดเวลาตามความจำเป็น  เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด
  8. ความสามัคคี  หมายถึง  การที่ทุกคนมีความพร้อมทั้งกาย  จิตใจ  และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จโดยไม่มีการเกี่ยงงอน
          จริยธรรมในการทำงาน
          จริยธรรมในการทำงาน  หมายถึง  กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางปกิบัติตนในการประกอบอาชีพที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาน  เหทาะสม  และยอมรับ
           การทำงานหรือการประกอบอาชีพต่าง ๆ จะเน้นในเรื่องของจริยธรรมที่มีความแตกต่างกันดังนี้
           จริยธรรมในการทำงานทั่วไป
    จริยธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญในการทำงานและการดำรงชีวิต  เรียกว่า  มงคล  38  ประการ    มงคลชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีดังนี้
  1. ชำนาญในวิชาชีพของตน (  มงคลชีวิตข้อที่ 8 ) เป็นการนำความรู้ที่เล่าเรียน  ฝึกฝน  อบรม  มาปฏิบัติให้เกิดความชำนาญจนสามารถยึดเป็นอาชีพได้
  2. ระเบียบวินัย  (  มงคลชีวิตข้อที่ 9 )  การฝึกกาย  วาจาให้อยู่ในระเบียบวินัยที่สังคมหรือสถาบันวางไว้เป็นแบบแผน
  3. กล่าววาจาดี(  มงคลชีวิตข้อที่ 10 )  คือ  วจีสุจริต  4  ประการ  ได้แก่    ความจริง  คำประสานสามัคคี  คำสุภาพ  คำมีประโยชน์
  4. ทำงานไม่คั่งค้างสับสน (  มงคลชีวิตข้อที่ 14 )  ลักษณะการทำงานของคนโดยทั่วไปมี  2  แบบ คือ 
          -  การทำงานคั่งค้างสับสน คือ  ทำงานหยาบยุ่งเหยิง  ทำงานไม่สำเร็จ  
          -  การทำงานไม่คั่งค้าง  คือ การทำงานดีมีระเบียบ  ทำงานเต็มฝีมือ  และทำงานให้เสร็จ

จรรยาบรรณวิชาชีพ
     จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อมุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ  ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ  ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
      จรรยาบรรณ  มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ  ทุกสถาบัน  และหน่วยงาน  เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ  ปฏิบัติด้วยความดีงาม

ความสำคัญของจรรยาบรรณ
เพื่อให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  จึงต้องมีกฎ  กติกา  มารยาท  ของการอยุ่ร่วมกัน  ในสังคมที่เจริญแล้วไม่มองแต่ความเจริญทางวัตถุ
  
         จริยธรรมในการทำงานผู้บริหาร
  1. มีหิริโอตตัปปะ
  2. เว้นอคติ 4 ประการ
  3. มีพรหมวิหาร 4
  4. มีสังคหวัตถุ 4
         จริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
  1. ตาดี  หมายถึง  รู้จักสินค้า  ดูของเป็น สามารถคำนวณราคา กะต้นทุน  เก็งกำไรได้แม่นยำ
  2. จัดเจนธุรกิจ  หมายถึง  รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า  รู้ความเคลื่อนไหวและความต้องการของตลาด
  3. พ้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย  หมายถึงเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจในหมู่แหล่งลงทุนใหญ่ ๆ
จรรยาบรรณวิชาชีพ
    จรรยาบรรณวิชาชีพ  หมายถึง  กฎเกณฑ์หรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติ  ชื่อเสียง  ฐานะของสมาชิกและวงการวิชาชีพนั้น ๆ ของสมาชิกที่ประกอบอาชีพนั้น ๆ

ตัวอย่างจรรยาบรรณวิชาชีพ

     จรรยาบรรณของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
  1. พึงมีสัจจะ  คือ  ความจริงในอาชีพของตนและผู้อื่นที่ใช้บริการของตนอย่างเคร่งครัด
  2. พึงมีเมตตากรุณาต่อลูกค้าเสมอหน้ากัน  ไม่ควรคิดเอาประโยชน์ตน  หรือผลกำไรลูกเดียว
  3. พึงเฉลี่ยผลกำไรผู้ร่วมงานทุกคนเสมอหน้ากัน 
  4. พึงให้เกียรติแก่ลูกค้าทุกคน ไม่คดโกง
  5. พึงหาวิธีการร่วมมือกับนักการค้าอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม
  6. พึงเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างถูกต้องเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  7. พึงรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานทุกคนด้วยความเมตตาธรรม
  8. พึงพูดจาไพเราะอ่อนหวานและปฏิบัติตนเป็นกัลยณมิตรกับลูกค้าทุกคน
  9. พึงบริการลูกค้าให้รวดเร็วทันใจเท่าที่จะทำได้
  10. พึงหาทางร่วมมือ รวมแรง  ร่วมใจกับรัฐบาลในการพัฒนาสังคม
    จรรยาบรรณครู
  1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
  3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์ อุทิศเวลาของตนให้ศิษย์
  4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่า  เป็นคนประพฤติชั่ว
  5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา
  6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง
  7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ  ไม่นำผลงานฃของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นของตน
  8. ประพฤติอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
  9. สุภาพ  เรียบร้อย เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์
  10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
จรรยาบรรณแพทย์

   1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
   2. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
   3. มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
   4. มีความละเอียดรอบคอบ สุขุม มีสติใคร่ครวญเหตุผล
   5. ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยแต่ฝ่ายเดียว
   6. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
   7. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย
   8. ไม่ลุอำนาจแก่อคติ 4 คือ ความลำเอียงด้วยความรัก
   ความโกรธ ความกลัว ความหลง (โง่)
   9. ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และความเสื่อม
   10. ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข
จรรยาบรรณนักกฎหมาย
  1. พึงถือว่างานด้านกฎหมายเป็นอาชีพไม่ใช่ธุรกิจ
  2. พึงถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือของความยุติธรรม  มิใช่มาตราการความยุติธรรม
  3. พึงถือว่านักกฎหมายทุกคนเป็นที่พึงของประชาชนทุกคนในด้านกฎหมาย
  4. พึงถือว่าความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
  5. พึงถือว่าความยุติธรรมเป็นกลางสำหรับทุกคน
  6. พึงถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
  7. พึงขวนขวายหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์เสมอ
  8. พึงงดเว้นอบายมุขทั้งหลายอันเป็นสิ่งบั่นทอนความยุติธรรม
  9. พึงรักษาเกียรติยิ่งกว่าทรัพย์สินใด
  10. พึงถือว่าบุคคลมีค่าเหนือวัตถุ

จรรณยาบรรณทหาร
 1.  มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 2.  ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 3.  ยอมสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ
 4.  รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของทหาร
 5.  มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
 6.  ซื่อตรงต่อตนเอง ผู้อื่น และครอบครัว
 7.  มีลักษณะผู้นำ มีวินัย ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเคร่งครัด และปกครองผู้ใต้ บังคับ บัญชา ด้วยความเป็นธรรม
 8.  ต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันจักทำให้   เสื่อมเสียศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของทหาร
 9.  ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่น อันอาจทำให้เป็นที่สงสัย หรือเข้าใจว่ามีการเลือกปฏิบัติ หรือไม่เป็นธรรม
10.  ปฏิบัติต่อบุคคลที่มาติดต่อเกี่ยวข้องอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
11.  รู้รักสามัคคี เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการทหาร
12.  ต้องบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ทางการทหาร
13.  พัฒนาตนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการทหาร
14.  รักษาความลับของทางราชการทหารโดยเคร่งครัด
 
ค่านิยม
                ความหมายของค่านิยมมีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคำสองคำคือ ค่านิยมเมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม

                ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง
                ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี

อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
                รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง

          ค่านิยมสังคมเมือง


        ค่านิยมสังคมชนบท

 เชื่อในเรื่องเหตุและผล
ขึ้นอยู่กับเวลา
แข่งขันมาก
นิยมตะวันตก
5. ชอบจัดงานพิธี
ฟุ่มเฟือยหรูหรา
นิยมวัตถุ
ชอบทำอะไรเป็นทางการ
ยกย่องผู้มีอำนาจผู้มีตำแหน่ง
๑๐.วินัย
๑๑. ไม่รักของส่วนรวม
๑๒. พูดมากกว่าทำ
๑๓. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า
๑๔. เห็นแก่ตัวไม่เชื่อใจใคร

 ยอมรับบุญรับกรรมไม่โต้แย้ง
ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
เชื่อถือโชคลาง
ชอบเสี่ยงโชค
นิยมเครื่องประดับ
นิยมคุณความดี
นิยมพิธีการและการทำบุญเกินกำลัง
ชอบเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
ทำงานเป็นเล่น ทำเล่นเป็นงาน
๑๐. พึ่งพาอาศัยกัน
๑๑. มีความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
๑๒. รักญาติพี่น้อง
๑๓. มีความสันโดษ
๑๔. หวังความสุขชั่วหน้า


                อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล
                ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ
                ๑. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ
                ๒. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ
                ๓. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
                ๔. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรม
ทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย
                ๕. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ
                ๖. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล